เลือกอ่านตามหัวข้อ
สรุปสั้น
- คีม รูปร่างคล้ายกรรไกร
- ใช้งานได้หลายอย่าง เช่น ยึด จับ ตัด ปอก
- มีหลายแบบ ขึ้นอยู่กับปากคีม
- ในงานเดินสายไฟและเน็ตเวิร์ก มี 5 คีมที่ต้องมี
- คีมย้ำสายแลน คีมปอกสายไฟเบอร์ออปติก
- คีมปากจิ้งจก คีมปากเฉียง คีมปากแหลม
คีมคืออะไร ?
การใช้งานคีมอย่างถูกวิธี
- เลือกใช้คีมให้เหมาะสมกับงาน : คีมแต่ละชนิดมีการออกแบบมาเพื่อใช้งานเฉพาะเจาะจง
- ตรวจสอบสภาพของคีม : ก่อนใช้งานควรตรวจสอบว่าคีมอยู่ในสภาพสมบูรณ์ ฟันคีมคม ไม่บิ่น หรือสึกหรอ
- จับด้ามคีมให้ถูกวิธี : ควรจับด้ามคีมให้แน่นและกระชับมือ
- ออกแรงกดคีมอย่างสม่ำเสมอ : ไม่ควรออกแรงกดคีมแรงเกินไป อาจทำให้คีมเสียหายได้
- บำรุงรักษาคีม : หลังใช้งานควรทำความสะอาดและหล่อลื่นคีมเป็นประจำ
คีมสำหรับงานเดินสายไฟ วางระบบเน็ตเวิร์ก
คีมแต่ละชนิดมีลักษณะทั่วไปคล้ายๆกัน คือ มีด้ามจับ 2 ข้าง การทำงานและการออกแรงคล้ายกรรไกร แต่ที่แตกต่างกันมาก คือ ลักษณะของปากคีม และมันจะเป็นตัวบ่งบอกถึงชนิดของคีมด้วย สำหรับงานเดินสายไฟและวางระบบเน็ตเวิร์ก จะมีคีมที่ช่างหลายคนมีติดกระเป๋าหรือใช้งานบ่อยๆอยู่ 5 ชนิด ดังต่อไปนี้
คีมย้ำสายแลน (Crimping Pliers) GLT-316
การใช้งาน : ใช้สำหรับตัดและปอกสายแลน รวมถึงเข้าหัวแลน RJ45
ข้อดี : ช่วยให้การเชื่อมต่อสายแลนเป็นไปอย่างรวดเร็วและแน่นหนา
คีมปอกสายไฟเบอร์ออปติก (Fiber Optic Stripper) รุ่น CFS03 GLF-123
การใช้งาน : ใช้ปอกสายไฟเบอร์ออปติก
ข้อดี : ทำงานการเดินสายไฟเบอร์ออปติกสะดวกยิ่งขึ้น
คีมปากจิ้งจก (Combination Pliers)
การใช้งาน : ใช้จับ ยึด บิด และตัดสายไฟได้หลากหลายขนาด
ข้อดี : เป็นคีมอเนกประสงค์ เหมาะสำหรับงานทั่วไป
คีมปากเฉียง (Cutting Pliers)
การใช้งาน : ใช้ตัดสายไฟให้ขาด
ข้อดี : ใช้ตัดสายไฟและลวดได้อย่างรวดเร็ว
คีมปากแหลม (Long Nose Pliers)
การใช้งาน : ใช้สำหรับจับชิ้นงานขนาดเล็ก บิดสายไฟ หรือดึงสิ่งของออกจากที่แคบ
ข้อดี : เหมาะสำหรับงานที่ต้องการความละเอียด
สรุป
คีมมีอยู่หลายชนิด ลักษณะการใช้งานและชื่อเรียกคีมต่างๆจะขึ้นอยู่กับปากของคีมเป็นหลัก สำหรับงานเดินสายไฟและระบบเน็ตเวิร์กมีคีมอยู่ 5 ชนิดที่ใช้งานบ่อยมาก คือ
- คีมย้ำสายแลน (Crimping Pliers)
- คีมปอกสายไฟเบอร์ออปติก (Fiber Optic Stripper)
- คีมปากจิ้งจก (Combination Pliers)
- คีมปากเฉียง (Cutting Pliers)
- คีมปากแหลม (Long Nose Pliers)